วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (10) : จากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสู่ยุครุ่งเรืองทางภูมิปัญญา



ประวัติศาสตร์การทหารของยุโรปจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการถึงยุครุ่งเรืองทางภูมิปัญญา

ตลอดช่วงเวลาที่ยุคกลางในยุคโรปตะวันตกดำเนินไป ปัจจัยต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้คนที่มีต่อสังคมในยุคกลาง อาทิ

- ระบบเศรษฐกิจเงินตราที่เกิดขึ้นประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนเป็นเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขายในระดับท้องถิ่นและเป็นจุดเชื่อมต่อกับเมืองอื่น ๆ สร้างเป็นเครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานรองรับเส้นทางการค้าและการเผยแพร่ความรู้ แม้ว่าเมืองจะมิใช่สิ่งใหม่และเกิดขึ้นมาแล้วในสังคมกรีก-โรมันในยุคก่อนหน้า แต่ชาวเมืองยังคงอยู่ในวัฒนธรรมของสังคมชนบทที่ให้ความสำคัญกับการเกษตร และยอมรับอำนาจของผู้ปกครองที่เหนือกว่าจากสิทธิธรรมตามลัทธิ-ศาสนาโบราณ ต่างจากชาวเมืองในยุคกลางที่ปลีกตนเองออกจากสังคมชนบทตามระบบฟิวดัลมาใช้ชีวิตใหม่ที่เป็นอิสระในเมือง

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (9) : จีนยุคจักรวรรดิ



ประวัติศาสตร์การทหารของจีนยุคจักรวรรดิ

ทางด้านดินแดนตะวันออกไกล จักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นประสบปัญหาหลายอย่างทั้งความไม่สำเร็จในการปฏิรูปที่ดินจากอำนาจชนชั้นนำ, การสูญเสียงบประมาณของรัฐจำนวนมากไปกับการก่อสร้างป้อมปราการเพื่อควบคุมเส้นทางการค้าสายไหม, การรุกรานจากชนเร่ร่อนนอกอาณาจักร และความขัดแย้งการเมืองในราชสำนักระหว่างกลุ่มตระกูลมเหสีของจักรพรรดิที่พยายามเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองผ่านการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์ กับกลุ่มขันทีที่เข้ามามีอิทธิพลผ่านการถวายคำแนะนำการดำเนินราชการ ปัจจัยดังกล่าวทำให้อำนาจรัฐจากส่วนกลางอ่อนแอและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดกบฏชาวนาในชื่อ โจรโพกผ้าเหลืองในปีค.ศ. 184 ซึ่งการปราบปรามกบฏนี้ทำให้ขุนศึกมีอิทธิพลมากขึ้น และเมื่อโจผี (Cao Pi) ประกาศตั้งราชวงศ์เว่ยในปีค.ศ. 220 อันนำมาซึ่งการแบ่งแยกดินแดนออกเป็นสามแคว้นใหญ่ [1] จักรวรรดิฮั่นจึงล่มสลายลงอย่างเป็นทางการ และเข้าสู่ยุคสมัยที่อาณาจักรจีนแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นย่อย ๆ เช่นเดียวกับในยุคชุนชิวเมื่อศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์กาล

แผนที่แสดงอาณาจักรที่แตกแยกออกมาเมื่อโจผีประกาศตั้งราชวงศ์เว่ย (หรือวุย) เมื่อปีค.ศ. 220
(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/01/K6224745/K6224745-6.gif)

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (8) : อารยธรรมอิสลาม



ประวัติศาสตร์การทหารของอารยธรรมอิสลาม

ในดินแดนอาระเบียซึ่งเป็นพื้นที่การขยายอิทธิพลระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกกลาง อารยธรรมใหม่และกลุ่มอำนาจใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 นั่นคือ อารยธรรมอิสลาม โดยมีศูนย์กลางแห่งแรกที่เมืองมักกะห์หรือเมกกะ (Mecca) เมืองแห่งนี้เป็นหนึ่งในเมืองที่พัฒนาตนเองจากชุมชนอาหรับเร่ร่อนตามเส้นทางการค้าตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน และเริ่มเฟื่องฟูมากขึ้นเมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์พยายามขยายอิทธิพลแข่งขันกับจักรวรรดิเปอร์เซียในดินแดนอาระเบีย เพื่อผูกขาดการค้าสินค้าสำคัญ คือ ผ้าไหมจากจีนและเครื่องเทศจากอินเดีย ส่งผลให้เส้นทางสายไหมทางบกถูกรบกวนและเปลี่ยนเส้นทางมายังเส้นทางทางทะเล โดยเดินทางผ่านดินแดนอาระเบียและล่องเรือออกจากทะเลแดงเข้าสู่ทะเลอาระเบียและมหาสมุทรอินเดีย ก่อนออกเดินทางไปยังที่หมาย รวมทั้งเทคโนโลยีการเดินเรือและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตกระดาษจากเยื่อไม้ซึ่งแพร่กระจายจากจีนเข้าสู่อารยธรรมอิสลามประมาณค.ศ. 800 ช่วยในการจดบันทึกการเดินทางและวาดแผนที่ และกระดาษที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้เก็บรักษาได้ง่ายและผลิตได้จำนวนมาก, การใช้ใบเรือสามเหลี่ยมที่รับลมได้หลายทิศทาง และวงวัดองศา (Astrolabe) ที่ช่วยให้ชาวเรือสามารถทราบตำแหน่งของตนเองในทะเลได้ เป็นต้น [1] ด้วยปัจจัยดังกล่าว จึงทำให้จักรวรรดิอิสลามสามารถมีอำนาจขึ้นมาท้าทายจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิเปอร์เซียที่ก่อตั้งมาก่อนหน้าได้


ภาพวงวัดองศาแอสโตรแลบ อุปกรณ์เดินเรือของชาวอาหรับยุคโบราณ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเซสแทนต์ (Sextant) ของชาวยุโรปในสมัยศตวรรษที่ 18

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (7) : จักรวรรดิไบแซนไทน์



ประวัติศาสตร์การทหารของจักรวรรดิไบแซนไทน์

แม้จักรวรรดิโรมันโบราณจะล่มสลายลง ดินแดนแบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ แต่หาใช่ว่าอารยธรรมและภูมิปัญญาความรู้ของโรมันจะสิ้นสูญไปเสียหมด จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกคือผู้ที่สืบทอดอารยธรรมภูมิปัญญาของโรมันไว้และผสมผสานกับวัฒนธรรมกรีก โดยเฉพาะเครื่องมือการจัดการการเมืองและการสงคราม ซึ่งจักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดและพัฒนาสิ่งเหล่านั้นผ่านการเผชิญหน้ากับภัยคุกคามภายนอกและการขยายตัวของจักรวรรดิอิสลาม โดยศูนย์กลางภูมิปัญญาอยู่ที่เมืองหลวง คอนสแตนติโนเปิล” (Constantinople) และราชสำนักเป็นผู้กำหนดขอบเขตความรู้ที่ผู้คนสามารถศึกษาได้ ซึ่งส่งผลให้ความแตกต่างของมุมมองทางประวัติศาสตร์ระหว่างราชสำนักส่วนกลางกับกลุ่มข้าราชการชนชั้นนำปกครองส่วนท้องถิ่นส่งผลอย่างยิ่งต่อพัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์


 ภาพแกะสลักงานช้างรูปจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ทรงรับการอวยพรจากพระคริสต์ เพื่อราชาภิเษกพระองค์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์
(http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Porphyrogenetus.jpg)

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (6) : ยุโรปยุคกลาง



ประวัติศาสตร์การทหารในยุโรปยุคกลาง

ภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิก็ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ ที่ปกครองโดยชนเผ่าเยอรมันผู้รุกราน ซึ่งแต่ละอาณาจักรมิได้มีอำนาจทางการเมืองมากพอที่จะพัฒนากลไกที่จะรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางดั่งเช่นจักรวรรดิโรมัน และสภาวะเศรษฐกิจถดถอยลงจากภาวะความสับสนวุ่นวายจากการอพยพย้ายถิ่นฐานและการรุกรานจากพวกไวกิ้ง การตัดขาดเส้นทางการค้าระยะไกลของดินแดนตอนในภาคพื้นทวีป การขยายตัวของจักรวรรดิอิสลาม และความเสื่อมลงของระบบเงินตรา ซึ่งศักยภาพทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับรองรับการสร้างกองทัพขนาดใหญ่ อีกทั้งการที่ชนชั้นนำเจ้าของที่ดินชาวคริสต์ตั้งแต่สมัยปลายจักรวรรดิโรมันขึ้นมามีอำนาจจากการเป็นผู้ครอบครองปัจจัยการผลิต คือ ที่ดิน ทำให้ชนชั้นนำเจ้าของที่ดินเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจและเป็นเจ้าของกำลังทหารที่มาจากผู้คนที่ยินยอมอยู่ใต้อำนาจของตน


 ภาพพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ซาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส พระองค์กำลังรับการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า สิทธิธรรมและอำนาจในการปกครองทั้งมวลเป็นอำนาจจากพระเจ้า โดยผู้ที่นำอำนาจมามอบให้คือ ศาสนจักร
(http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Charles-vii-courronement-_Panth%C3%A9on_III.jpg)

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (5) : โลกยุคจารีต



การเขียนประวัติศาสตร์การทหารในโลกยุคจารีต

กาลเวลาได้ผ่านพ้นไป ยุคสมัยแห่งจักรวรรดิได้สิ้นสุดลงจากการแตกแยกของอาณาจักรจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นในช่วงค.ศ. 220 และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ได้นำโลกเข้าสู่ยุคจารีตที่ศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองและสังคมทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ซึ่งศาสนาที่มีอิทธิพลนี้ได้แก่


 ภาพโปสเตอร์ของภาพยนต์เรื่องขงจื้อ

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (4) : จีนโบราณ



ประวัติศาสตร์การทหารของอาณาจักรจีน

ในดินแดนทางตะวันออก อารยธรรมจีนเป็นอีกหนึ่งอารยธรรมที่มีการให้ความสำคัญต่อการจดบันทึกเรื่องราว เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปีและมีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ ราชการจีนจึงให้ความสำคัญต่อการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในเชิงสถิติคาดการณ์ผลผลิตที่จะสามารถเรียกเก็บภาษีได้ และใช้ศึกษาผู้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อกำหนดนโยบายการปกครอง


 แผนที่แสดงอาณาเขตของบรรดาแคว้นต่าง ๆ ในช่วงประมาณ 260 ปีก่อนคริสตกาล
(http://commons.wikimedia.org/wiki/File:EN-WarringStatesAll260BCE.jpg)

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเขียนประวัติศาสตร์การทหาร (3) : โรมัน



ประวัติศาสตร์การทหารของโรมัน

ณ คาบสมุทรอิตาลี [1] นครรัฐโรมได้ถือกำเนิดขึ้นจากการรวมตัวของชนเผ่าละตินกลุ่มต่าง ๆ ก่อตั้งเป็นชุมชนเลี้ยงสัตว์ในช่วงศตวรรษที่ 8 คริสตกาล และจากการอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรอีทรัสกันที่มีลักษณะสังคมเป็นสังคมนักรบและมีระบบเศรษฐกิจสัมพันธ์กับการทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรจากดินแดนใกล้เคียง [2] ส่งผลให้สังคมโรมันให้คุณค่ากับการทหารและยึดโยงคุณค่านี้กับสิทธิ์การเป็นพลเมือง, การเมือง และวัฒนธรรม รวมทั้งการเขียนประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับอิทธิพลระบบการเขียนจากอารยธรรมอีทรัสกัน แต่ชาวโรมันก็มิได้มีการเขียนประวัติศาสตร์ใด ๆ ในรูปแบบของตน จนกระทั่งอาณาจักรโรมันยุคสาธารณรัฐพิชิตดินแดนในคาบสมุทรกรีกและอาณาจักรมาซิโดเนียในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ซึ่งหนึ่งในผู้ที่นำการเขียนประวัติศาสตร์จากอารยธรรมกรีกสมัยเฮเลนนิสติกมาสู่อาณาจักรโรมันคือ โพลิบีอุส (Polybius)